วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัตินาฏศิลป์ไทย

ป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชาติไทย
ดนตรี เพลง และการขับร้องเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย และเพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
         1) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย
              1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย คือ วงปี่พาทย์ ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่น การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า 2 วง การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
              1.2 ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง อาจมีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะความจำเป็นของการแสดง เช่น ระบำกฤดาภินิหาร อาจนำเครื่องดนตรี ขิมหรือซอด้วง ม้าล่อ กลองต้อก และกลองแต๋ว มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
              1.3 ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
1) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีเครื่องดนตรี เช่น พิณเปี๊ยะ ซึง สะล้อ ปี่แน ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่ตัด ปี่เล็ก ป้าดไม้ (ระนาดไม้) ป้าดเหล็ก (ระนาดเอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ่ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดชัย กลองมองเซิง กลองเต่งทิ้ง กลองม่าน และกลองตะโล้ดโป้ด เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว วงกลองม่าน วงปี่จุม วงเต่งทิ้ง วงกลองปูจา และวงกลองสะบัดชัย
         2) ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทกับวงตรีหลักของไทย คือ วงปี่พาทย์และเครื่องสาย ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น กลองตะโพนและเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว กลองรำมะนาใช้เล่นเพลงลำตัด กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยมใช้ระนาด ซอ หรือ ปี่ เป็นต้น
         3) ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ พิณ อาจเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากตับเต่ง และหมากต๊ดโต่ง ซอ โปงลาง แคน โหวด กลองยาวอีสาน กลองกันตรึม ซอกันตรึม ซอด้วง ซอตรัวเอก ปี่อ้อ ปี่เตรียง ปี่สไล เมื่อนำมาประสมวงแล้วก็จะได้วงดนตรีพื้นเมือง คือ วงโปงลาง วงแคน วงมโหรีอีสานใต้ วงทุ่มโหม่ง และวงเจรียงเมริน
          4) ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก) กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง (ฆ้องคู่) ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวกภาตใต้ (แกระ) และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีตาร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด
2. เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย
         2.1 เพลงไทยประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน
เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย โขน ละคร รำ และระบำที่เป็นมาตรฐานนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
              1) เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ สู้รบ แปลงกาย และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ ตระบองกัน เป็นต้น
              2) เพลงขับร้องรับส่ง คือ เพลงไทยที่นำมาบรรจุไว้ในบนโขน-ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เพลงเถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละคร หรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น
         2.2 เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคได้ดังนี้
              1) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและเพลงลาวสมเด็จ ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊และซอจ๊อยเชียงแสน บรรเลงเพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่งและลาวกระแซ เป็นต้น
              2) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เพลงบรรเลงประกอบการเล่นเต้นกำรำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น
              3) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน เพลงประกอบการแสดงเซิ้ง โปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไท บรรเลงลายลำภูไท เป็นต้น
              4) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เพลงบรรเลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน การแสดงชุดรองเง็ง บรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา เพลงลานัง เพลงปูโจ๊ะปิชัง เป็นต้น

เพลงไถ่เธอคืนมา



เพลงไถ่เธอคืนมา





https://www.youtube.com/watch?v=se61jl0fRUA


วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

   
                             ทักษะการเเสดงนาฏศิลป์ไทย




นาฏศิลป์ไทยเป็นการเล่นเครื่องดนตรีหลายๆชนิดการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะกำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วย3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
 1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี
หรือบางที่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
       1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว
รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
      1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน
เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
          1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น
          1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่าการรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
      1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
      1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
 2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง
เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
       2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้
ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
      2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส
อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
      ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุด
ได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นป้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
 3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น
การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
       3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน
       3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กฎหมายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์


กฎหมายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์

ทนายคลายทุกข์ขอเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ขับขี่รถจักรยายนต์จะต้องสวมหมวกนิรภัยและต้องได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้รวมทั้งผู้ที่ซ้อนท้ายจะต้องสวมหมวกนิรภัยด้วยเช่นกัน หากฝ่าฝืนทั้งผู้ขับขี่และคนซ้อนอาจถูกปรับตาม พ.ร.บ.จราจรจรทางบก พ.ศ.2522  แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550
( แ  ตัวบทกฎหมงอิงายอ้า

มาตรา  122  ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำ             ขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย

ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา  148  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 มาตรา 36 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 51 มาตรา 54 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 60 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 68 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 73 วรรคสอง มาตรา 74 มาตรา 76 มาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 87 มาตรา 88 มาตรา 96 วรรคหนึ่ง มาตรา 97 มาตรา 101 มาตรา ๑๐๗ มาตรา 108 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 114 วรรคหนึ่ง มาตรา 118 มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 121 มาตรา 122 วรรคหนึ่งหรือวรรคสามมาตรา 123 มาตรา 124 มาตรา 126 มาตรา 129 หรือมาตรา 133 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ถ้าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กระทำความผิดตามมาตรา 122 วรรคสอง ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

เนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ซ้อนท้าย จยย.รับจ้างต้องสวมหมวกกันน็อก

พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร เปิดเผยภายหลังประชุมบริหารงานจราจรประจำเดือน ม.ค. 2551 วานนี้ ว่า ได้แจ้งข้อมูลการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งได้ประกาศมีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ที่ผ่านมา มาตรา 122 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้โดยสารต้องสวม หมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์

ซึ่งหากมีการฝ่าฝืน จะต้องโทษปรับไม่เกิน 500 บาท โดยห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่รถในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย หากฝ่าฝืนถ้าผู้ขับขี่จักรยานยนต์จะถูกปรับเป็น 2 เท่าของโทษที่กำหนด เช่น คนขับรถไม่สวมหมวก บรรทุกคนโดยสารที่ไม่สวมหมวก จะถูกจับเป็นความผิด 2 ข้อหา คือ การไม่สวมหมวกเฉพาะตัวเอง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และอีกข้อหาคือออกรถโดยที่คนโดยสารไม่ สวมหมวกถูกปรับเป็น 2 เท่าจากที่ตนเองไม่สวมหมวก ซึ่งได้แจ้งให้ฝ่ายจราจรของ สน.ต่าง ๆ ดำเนินการกวดขันผู้ขับขี่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์รับจ้างซึ่งให้บริการผู้โดยสารแต่ละวันจำนวนมาก

พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้กำชับให้กวดขันรถจักรยานยนต์ในความผิดข้อหาหลักที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อหาที่เป็นปัญหาการจราจร อีก 6 ข้อหาคือ 1.ผู้ขับขี่และผู้โดยสารสวมหมวกนิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐานตามกฎกระทรวงกำหนด 2.ขับรถจักรยานยนต์ไม่ใกล้ขอบทางด้านซ้าย 3.อุปกรณ์ส่วนควบไม่สมบูรณ์ 4.ขับขี่จักรยานยนต์ฝ่าฝืนทิศทางการเดินรถ (ย้อนศร) 5.บรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ซ้อนสาม)

6.ไม่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดเมื่อได้รับสัญญาณไฟสีแดง (ฝ่าไฟแดง) ทั้งนี้จากสถิติปี 2549 มีรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ รวมกว่า 2 ล้านคัน ไม่รวมรถจักรยานยนต์ต่างจังหวัดที่นำเข้ามาวิ่ง และสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรในเขตกรุงเทพฯ ปี 2549 รับแจ้ง 50,571 ครั้ง มีคู่กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ 26,071 ราย หรือคิดเป็นกว่า ร้อยละ 30 และ จากสถิติการเสียชีวิต 665 คนเป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 60.


ชนิดของคอมพิวเตอร์

ชนิดของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)





การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้

https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/index2.htm

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กลองชุด

กลองชุด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal
กลองชุด (อังกฤษ: Drum kit) เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยตัวกลองและฉาบจำนวนหลายใบ และใช้"ไม้กลอง"เพื่อตีควบคุมจังหวะ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงหนักแน่น สามารถเพิ่มพลังให้กับบทเพลงได้หลากหลายแนว เช่น ร็อก ,บลูส์ , ป็อป , ฟังก์ , ดิสโก้ และ แจ๊ส เป็นต้น กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ส่วนประกอบ[แก้]
เครื่องดนตรีในกลองชุด ประกอบด้วย
·   กลองเล็ก หรือ สะแนร์ดรัม (Snare drum) ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะ และสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่าง สามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้ และตีกลองเล็กด้วยไม้ นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี มักจะถูกตีในจังหวะที่ 2 และจังหวะที่ 4 ของทุกๆ " 1 ห้อง " ของเพลงนั้นๆ
·   กลองทอม (Tom-tom drum) หรือ เทเนอร์ดรัม (Tenor drum) มีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัม เป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์ โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลอง ใช้ไม้ชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด มักถูกใช้ในการตีลูกส่ง และช่วยในการโซโล่ ของกลอง
·   กลองใหญ่ หรือ กลองเบส (Bass drum) เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้าน เสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ต ตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้ม ชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้เพื่อทำเสียงรัว มักจะถูกตีในจังหวะที่ 1 และจังหวะที่ 3 ของทุกๆ " 1 ห้อง " ของเพลงนั้นๆ
·   กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะ ซื่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบน เป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอน เมี่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยใม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ก็ไดั ไม้ที่ใช้ตีมีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว
·   ฉาบ หรือ ซิมบาลส์ (Cymbals) เป็นฉาบที่มีขนาดใหญ่เล็กน้อย ใช้ตีเพื่ออัดพลังความหนักแน่นให้กับลูกส่ง และการโซโล่ของกลอง เพื่อเป็นการสร้างสีสันให้กับตัวเพลง โดยส่วนใหญ่แล้ว ในการควบคุมจังหวะให้กับเพลง ไม่ว่าเพลงแนวใดก็ตาม การตีซิมบาลส์นั้น มักจะเป็นการตีลงไปหนึ่งครั้ง ในบาง " 1 ห้อง " และการตีซิมบาลส์นั้น มักจะไม่เป็นการตีอย่างต่อเนื่องไปตลอดและพรํ่าเพรื่อมากนัก
·   ฉาบไฮแฮ็ท (Hi-hat) เป็นฉาบขนาดกลางสองใบในแนวเดียวกัน สามารถถูกทำให้อ้าออก และ ประกบเข้ากันได้ ด้วยคันเหยียบซึ่งอยู่ทางด้านล่างสุดของตัวเสาแขวนฉาบไฮแฮ็ท โดยทั่วไปแล้ว ไฮแฮ็ทและตัวเสาแขวนจะอยู่ทางด้านซ้ายมือของกลองเล็ก ใช้ตีต่อเนื่องเพื่อบอกและควบคุมจังหวะทั้งหมดภายใน " 1 ห้อง " ของเพลงนั้นๆ ตลอดจนจบเพลง
แหล่งอ้างอิ้ง
https://www.youtube.com/watch?v=ruj1KuKipxA

www.lazada.co. th/shop-drum-sets/